หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ ดัชนีความเชื่อมั่นประเทศไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2552
                  จากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อ
สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และความวิตกกังวลในจิตใจแล้ว ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นในศักยภาพ
ของประเทศไทยอีกด้วย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง
ความเชื่อมั่นประเทศไทย ประจำเดือนมิถุนายน 2552”  ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
ทุกสาขาอาชีพที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,026 คน เมื่อวันที่ 22 – 28 มิถุนายนที่ผ่านมา สรุปผล
ได้ดังนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน 2552  มีคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.05
                 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ซึ่งลดลงจากเดือนพฤษภาคม 0.02 คะแนน หรือ
                 ร้อยละ 0.2
  ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ
พฤษภาคม
(คะแนนเต็ม10)
มิถุนายน
(คะแนนเต็ม10)
เพิ่มขึ้น /
ลดลง
1. ความเชื่อมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และความมี
    น้ำใจเอื้อเฟื้อของคนไทย
5.73
5.72
- 0.01
2. ความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย
4.71
4.54
- 0.17
3. ความเชื่อมั่นในความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น
    ในภูมิภาคเดียวกัน
4.52
4.49
- 0.03
4. ความเชื่อมั่นในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มี
    ส่วนร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศ
4.34
4.27
- 0.07
5. ความเชื่อมั่นในเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอ
    ข่าวสารข้อเท็จจริงไปยังประชาชน
4.28
4.23
- 0.05
6. ความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศของรัฐบาล
    ชุดปัจจุบัน
4.23
4.10
- 0.13
7. ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้
    กฎหมายของไทย
3.53
3.73
+ 0.20
8. ความเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาไทย
3.55
3.65
+ 0.10
9. ความเชื่อมั่นในความรักความสามัคคีของคนในชาติ
3.55
3.58
+ 0.03
10. ความเชื่อมั่นในความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตและ
      ทรัพย์สิน
3.44
3.56
+ 0.03
11. ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาความยากจน
     การว่างงาน และการประกอบอาชีพ
3.44
3.38
- 0.06
12. ความเชื่อมั่นในสถานะทางการเงินการคลังของ
      ประเทศ
3.36
3.35
- 0.01
เฉลี่ยรวม
4.07
4.05
- 0.02
 
             2. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า

ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เชื่อว่า
จะดีขึ้น
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะแย่ลง
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะเหมือนเดิม
(ร้อยละ)
1. ด้านเศรษฐกิจ
34.9
29.1
36.0
2. ด้านการเมือง
31.3
23.2
45.5
3. ด้านสังคม
30.1
25.1
44.8
 
             3. เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย (3 อันดับแรก)่
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ได้แก่

 
ร้อยละ
อันดับ 1 แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และปัญหาปากท้อง
42.2
อันดับ 2 แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมให้มีความรักสามัคคีกัน
25.5
อันดับ 3 แก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมืองให้มีความสามัคคีและช่วยกัน
           บริหารประเทศ
8.0

                       ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา จะพบว่า เรื่องที่ประชาชน
                 เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยใน 3 อันดับแรกยังคง
                 เป็นเรื่องเดิม
                       แต่หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ความต้องการให้แก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และ
                 ปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมืองมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้น ขณะที่ความต้องการให้แก้ปัญหา
                 ความขัดแย้งของคนในสังคมให้มีความรักสามัคคีกันกลับมีเปอร์เซ็นต์ลดลง ดังรายละเอียด
                 ในตารางต่อไปนี้

อันดับที่
เดือนพฤษภาคม
เดือนมิถุนายน
เพิ่มขึ้น
/ลดลง
(ร้อยละ)
1
ให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน
และการลงทุน
(ร้อยละ 40.1)
ให้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงานและ
ปัญหาปากท้อง
(ร้อยละ 42.2)
+ 2.1
2
ให้แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนใน
สังคมให้มีความรักสามัคคีกัน
(ร้อยละ 35.0)
ให้แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคม
ให้มีความรักสามัคคีกัน
(ร้อยละ 25.0)
- 10.0
3
แก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมือง
ให้มีความสมานฉันท์ช่วยกันแก้ปัญหา
ของประเทศ
(ร้อยละ 6.0)
แก้ปัญหาความขัดแย้งในหมู่นักการเมือง
ให้มีความสมานฉันท์ช่วยกันแก้ปัญหา
ของประเทศ
(ร้อยละ 8.0)
+ 2.0
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้
                      1. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครในด้านต่างๆ
                      2. ประเมินความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครในด้านต่างๆ ในอีก 6 เดือน
                          ข้างหน้า
                      3. เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน
จำนวน 34 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน คันนายาว จตุจักร ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ
บางกอกน้อย บางเขน บางขุนเทียน บางซื่อ บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี
ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง หนองแขม หนองจอก หลักสี่ และ
ห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,026 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.4 และเพศหญิงร้อยละ 51.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม
แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 22 – 28 มิถุนายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 กรกฎาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
497
48.4
             หญิง
529
51.6
รวม
1,026
100.0
อายุ:
 
 
             18 ปี – 25 ปี
279
27.2
             26 ปี – 35 ปี
301
29.3
             36 ปี – 45 ปี
244
23.8
             46 ปีขึ้นไป
202
19.7
รวม
1,026
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
518
50.5
             ปริญญาตรี
435
45.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
73
7.1
รวม
1,026
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ
133
12.9
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
285
27.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
247
24.1
             รับจ้างทั่วไป
127
12.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
55
5.3
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
179
17.5
รวม
1,026
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776